8 เคมีภัณฑ์สำหรับดูแลสระว่ายน้ำ การดูแลสระว่ายน้ำให้ใสสะอาดนั้น ไม่เพียงแค่การมีระบบถังกรองสระว่ายน้ำเพียงเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการดูแลสระว่ายน้ำนั้นเอง แล้วเคมีภัณฑ์เหล่านี้ใช้ทำหน้าที่อะไรบ้าง ต้องใส่ลงในสระว่ายน้ำในปริมาณเท่าไหร่ เป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือไม่ มีคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เคมีภัณฑ์ในสระว่ายน้ำมาฝากครับ
จุดประสงค์ของการใส่เคมีภัณฑ์ในสระว่ายน้ำ คือ เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรค และเป็นการควบคุมคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐานของน้ำในสระว่ายน้ำที่ดี โดยผู้ดูแลสระว่ายน้ำจะต้องทำการตรวจวัดและควบคุมคุณภาพของน้ำ มีหลักการได้แก่ pH หรือ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ ค่าคลอรีน เป็นต้น มีสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพดังต่อไปนี้1. คลอรีน
เป็นสารค่าเชื้อโรคที่ใช้กับสระว่ายน้ำและมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน คือ คลอรีน 90 % คลอรีน 65 % คลอรีน 10 % แต่การใช้คลอรีนในสระว่ายน้ำโดยทั่วไปจะใช้เป็นคลอรีน 90 % เนื่องจากเป็นคลอรีนที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้ใช้ได้ในปริมาณที่น้อย และเป็นคลอรีนที่อยู่ในสถานะที่สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการได้ เช่น วัดค่าคลอรีนในสระว่ายน้ำให้อยู่ระหว่าง 1.0-3.0 ppm ซึ่งจะต้องทำการตรวจวัดค่าคลอรีนทุก ๆ วัน สามารถทำการตรวจสอบได้โดยการใช้ชุดตรวจสอบในการวัดปริมาณคลอรีนที่จะต้องเติมลงในสระว่ายน้ำ ซึ่งสามารถเทียบได้จาก สระว่ายน้ำขนาด 100 คิว ต้องเติมคลอรีนให้มีค่า 1 ppm ต้องใส่คลอรีน 111 กรัม จึงต้องเติมคลอรีนให้มีค่าเพิ่ม 3 ppm ต้องใส่คลอรีน 300 กรัมนั่นเอง
2.โซดาแอช
เป็นสารเคมีสระว่ายน้ำที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง มีค่า pH ประมาณอยู่ที่ 14 ซึ่งจะใช้โซดาแอชในการปรับสภาพน้ำ ในกรณีที่น้ำเป็นกรดที่มีค่า pH ที่ต่ำกว่า 6.8 โดยโซดาแอชมีลักษณะเป็นผงสีขาว ซึ่งวิธีใช้ คือ ค่อย ๆ เทโซดาแอชทีละน้อยลงในถังที่บรรจุน้ำอยู่ คนให้โซดาแอชละลายจนหมด แล้วจึงเทลงในสระว่ายน้ำ และมีปริมาณในการใช้ประมาณ 1.3 กิโลกรัม ต่อสระว่ายน้ำที่มีขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ทั้งนี้ผู้ดูแลสระว่ายน้ำจะต้องใส่โซดาแอชลงในสระว่ายน้ำทุกวัน จนกว่าค่าpH จะสูงขึ้นจนอยู่ในระดับมาตรฐานคือ 7.2-7.6 นั่นเอง
3.กรดเกลือแห้ง หรือ กรดเกลือ
กรดเกลือแห้ง เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นกรด มีค่า pH อยู่ที่ 1.0 ใช้ในการปรับสภาพน้ำในกรณีที่น้ำในสระว่ายน้ำมีค่าเป็นด่างโดยมีค่า pH ที่สูงกว่า 7.8 ซึ่งกรดเกลือแห้งนี้ก็มีลักษณะเป็นผงสีขาวสำหรับวิธีใช้กรดเกลือ คือ ผู้ดูแลสระว่ายน้ำจะต้องใช้กรดเกลือทีละน้อย ค่อย ๆ เทกรดเกลือทีละน้อยลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่ คนให้กรดเกลือละลายจนหมดแล้วจึงเทลงในสระว่ายน้ำ ซึ่งปริมาณการใช้กรดเกลือประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อขนาดของสระว่ายน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งผู้ดูแลสระว่ายน้ำจำเป็นต้องใส่กรดเกลือทุกวันจนกว่าค่า pH จะลดลงอยู่ในระดับมาตรฐานที่ 7.2-7.6
4.ผงกรอง
ผงกรองเป็นสารชนิดพิเศษที่จะช่วยในการกรองน้ำในสระว่ายน้ำ โดยผงกรองมีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว ซึ่งผงกรองนี้จะต้องใช้ร่วมกับระบบถังกรองสระว่ายน้ำชนิดถังกรองผ้า โดยผงกรองจะเข้าไปเคลือบติดอยู่กับแผ่นกรอง ทำให้แผ่นกรองมีประสิทธิภาพในการกรองน้ำใสระว่ายน้ำที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อผ่านการใช้ไปในระยะหนึ่งผงกรองจะสกปรก เครื่องกรองจะตัน โดยดูจากเกย์วัดความดันของถังกรองจะขึ้นอยู่ที่ 15-20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งผู้ดูแลสระว่ายน้ำจะต้องทำการล้างถังกรอง โดยปริมาณของผงกรองที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับรุ่นและขนาดของเครื่องกรอง ซึ่งผงกรองเป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอีกด้วย
5.น้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำ (Swim Trine)
น้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำ เป็นน้ำยาที่มีคุณสมบัติในการควบคุมการเจริญเติบโต ของตะไคร่น้ำภายในสระว่ายน้ำ และมีคุณสมบัติช่วยทำให้น้ำในสระว่ายน้ำมีสีฟ้าสดใส ด้วยน้ำยาชนิดนี้เป็นสารที่มีที่ใช้ในการบำบัดรักษาตามระยะเวลา เมื่อสระว่ายน้ำมีปัญหาเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องใส่น้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำทุกวัน และหากมีการดูแลสระว่ายน้ำเป็นประจำอยู่แล้ว ผู้ดูแลสระว่ายน้ำใช้น้ำยาเพียงแค่ ½ แกลลอน ต่อสระว่ายน้ำ 100 คิว เท่านั้น ทั้งนี้น้ำยาควบคุมตะไคร่ 1 แกลลอนมีปริมาณเท่ากับ 3.5 ลิตร ใส่ทุกสัปดาห์ในปริมาณ ½ ลิตร ต่อขนาดสระว่ายน้ำ 100 คิว
6.น้ำยาปรับสภาพน้ำใส (Pool Trine)
น้ำยาปรับสภาพน้ำใส เป็นน้ำยาที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำเขียวของสระว่ายน้ำ ที่เกิดจากการขาดการดูแล หรือน้ำในสระว่ายน้ำขาดสารเคมี จึงทำให้ตะไคร่น้ำเกิดการเจริญเติบโตภายในสระว่ายน้ำมากขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำในสระว่ายน้ำเกิดน้ำเขียว น้ำยาปรับสภาพน้ำใสนี้จะช่วยให้ตะไคร่น้ำตายและตกตะกอนลงสู่ก้นสระว่ายน้ำ จากนั้นผู้ดูแลสระว่ายน้ำจึงจะต้องทำการดูดตะกอนออก และทำความสะอาดได้ตามปกติ ทั้งนี้ปริมาณการใช้น้ำยา ½ แกลลอน ต่อสระว่ายน้ำขนาด 100 คิว
7.น้ำยาเร่งการตกตะกอน
น้ำยาเร่งการตกตะกอน เป็นน้ำยาที่ช่วยแก้ปัญหาสภาพน้ำขุ่นในสระว่ายน้ำ เนื่องจากน้ำในสระว่ายน้ำมีสารแขวนลอยมาก น้ำยาชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติที่ทำให้สารแขวนลอยมารวมตัวกันเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น จนทำให้สารแขวนลอยในสระว่ายน้ำมีน้ำหนักมาพอที่จะตกตะกอนลงสู่ก้นสระว่ายน้ำได้ซึ่งเทคนิคในการใช้น้ำยาเร่งการตกตะกอน คือ เมื่อผู้ดูแลสระว่ายน้ำจะใส่น้ำยาชนิดนี้ลงในสระว่ายน้ำแล้วจะต้องปิดระบบหมุนเวียนน้ำในทันที เพื่อให้น้ำยาทำการเร่งการตกตะกอนภายในสระว่ายน้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นให้รีบดูดตะกอนออกในช่วงเช้า เนื่องจากถ้าปล่อยไว้จนอุณหภูมิสูงตะกอนก็จะลอยขึ้นมา ทำให้ดูดตะกอนออกไปไม่หมด ซึ่งปริมาณการใช้น้ำยาเร่งการตกตะกอน คือ 1-1/2 แกลลอน ต่อสระว่ายน้ำ 100 คิว
8.น้ำยาทำความสะอาดกระเบื้องขอบสระ
การใช้น้ำทำความสะอาดกระเบื้องขอบสระ ใช้โดยชุบฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตามกระเบื้องของขอบสระว่ายน้ำบริเวณระดับน้ำ เนื่องจากที่บริเวณนี้จะมีคราบสกปรกมาเกาะเป็นจำนวนมาก หรือคราบสกปรกจากฝุ่นละอองต่าง ๆ น้ำมันทาผิว คราบเหงื่อไคล สิ่งสกปรกที่มักลอยอยู่บนผิวน้ำของสระว่ายน้ำ เป็นต้น โดยน้ำยาชนิดนี้จะมีคุณสมบัติที่ไม่มีฟอง และมีค่า pH เป็นกลางจึงไม่มีผลกระทบกับน้ำในสระว่ายน้ำนั่นเอง
การเลือกใช้เคมีภัณฑ์ดูแลสระว่ายน้ำนั้น ผู้ดูแลสระว่ายน้ำจะต้องเลือกใช้เคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับสระว่ายน้ำของคุณ เพราะหากใช้เคมีภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งมากไป ก็อาจสร้างปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ นั่นเอง